กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
เป็นกำแพงเมืองที่เคยปกป้องเมืองนครศรีธรรมราชจากข้าศึก
เป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัด เป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ความแข็งแกร่ง
ความเจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่ให้
แข็งแรงและสวยงาม เพื่อพัฒนาเป็นอีก 1 สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า
มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีที่ตั้งอยู่ หลายจุดด้วยกัน แต่ที่เหลือให้ชม คือ
กำแพงเมืองด้านทิศเหนือ อยู่ริมคลองหน้าเมือง ถนนมุมป้อม ความแข็งแกร่งความ
เจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ริมคลอง
หน้าเมือง ถนน มุมป้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การสร้างปรากฏหลักฐาน
จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่ หาด ทรายแก้ว แล้วจึงสร้างกำแพง เมืองเป็นกำแพงดิน
มีคูล้อมรอบสันนิษฐานว่า มีการบูรณะกำแพง เมืองส่วนต่างๆ กันมาหลายครั้งทุกครั้ง
คงพยายามรักษา แนวกำแพงเดิมไว้
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ
ที่ชาวนครเรียกว่าวัดพระธาตุ
โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน
ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ
พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน
นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้
พระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์
ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อ
เล่าสืบตอบกันมาว่าองค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์
ซึ่งสิ่งของมีค่า
เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตนได้พบกับนิพพาน
จากคำขวัญประจำ จังหวัดเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ
แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปข้อความว่า
พระธาตุทองคำ จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุนั่นเอง และหากใครต้องการ
ชมยอดพระธาตสีทองเหลืองอร่ามอย่างใกล้ชิด
มีบริการกล้องส่องทางไกลให้ใช้บริการสนนราคาแล้ว แต่ตกลง
กันว่าจะชื่นชมความงดงามนั้นนานเพียงใด
ด้วยความมีชื่อเสียงและศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คน
จากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้ขอพรคู่ไปกับพิธีปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ
การนำผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุ และบนขอพรใน เรื่องใด
จะขอให้หายเจ็บหายไข้ ขอให้ได้ลูก ขอเรื่องการงานการเรียน
สิ่งนั้นก็จะเป็นจริงดังหวัง มีเรื่องเล่าว่า มีชายคน หนึ่งประสบอุบัติเหตุเดินไม่ได้
รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย สุดท้ายพ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงมาบนและนำผ้าขึ้นธาตุที่
พระบรมธาตุ ขอให้ลูกชายหายจากอาการป่วยและหากหายจะให้มาบวชที่วัดพระธาตุ
ในไม่ช้าชายหนุ่มคนดังกล่าว ก็หายวันหายคืน จนกลับมาเดินได้เป็นปกติในทุกปีช่วงวันมาฆและวันวิสาขบูชา
จะจัดงานแห่ผ้าขึ้นธาตุซึ่งถือเป็น งาน
บุญประจำปีที่มีผู้คนจากทั่วสารทิศมาร่วมสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่นี้ความ
มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ องค์พระบรมธาตุ คือ
องค์พระธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด ซึ่งยังไม่มี
ใครหาคำตอบ ได้ว่าเป็นเพราะอะไร จากความมหัศจรรย์นี้ ท.ท.ท. จึงให้เจดีย์นี้เป็น ๑
ใน unseen Thailand ของเมืองไทย
นอกจากพระบรมธาตุเแล้วเจดีย์องค์เล็กที่รายล้อมรอบองค์พระธาตุมากมายเป็นสิงที่แปลกตาแก่นักท่องเที่ยว
ที่ได้พบเห็น เจดีย์นี้เรียกว่า องค์เจดีย์บริวาร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๔๙
องค์เจดีย์บริวาร คือ เจดีย์ที่ลูกหลานบรรพบุรุษได้สร้างไว้สืบต่อกัน
มาเรื่อยๆเพื่อบรรจุอัฐิของญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอธิษฐานว่าขอให้ญาติของตนได้มาเกิด
ในศาสนา ของพระพุทธองค์อีกครั้งในภพหน้า นอกจากความหัศจรรย์ของพระธาตุไร้เงาแล้ว
เจดีย์บริวารที่ เรียงราย
ล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเป็นสิ่งมหัศจรรย์ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นจากที่ใดเช่นกัน
พระวิหารสูง
พระวิหารสูง หรือหอพระสูง
เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองโบราณนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือในบริเวณสนามหน้าเมือง
ใกล้สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ถนนราชดำเนิน
เรียกชื่อตามลักษณะของการก่อสร้างของพระวิหารซึ่งสร้างบนเนินดินที่สูงกว่าพื้นปกติถึง
2.10 เมตร ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงประวัติอย่างแท้จริง
แต่สามารถสันนิษฐานจากลักษณะของสถาปัตยกรรม
และจิตรกรรมฝาผนังว่าสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนดินเหนียว
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 23–24 หรือในสมัยอยุธยาตอนปลาย
"ไอ้ไข่" หรือ "ตาไข่"
ที่วัดเจดีย์

"ไอ้ไข่" หรือ "ตาไข่" นั้น เป็นรูปไม้แกะสลักเด็กชาย
ตั้งอยู่ภายในวัดเจดีย์ แห่งอำเภอสิชล เป็นอีกหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวในโครงการ
"เขาเล่าว่า" ภาคใต้ เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ในรูปไม้แกะสลักนั้น
เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านและคนในจังหวัดใกล้เคียง ที่มีความศรัทธา
เดินทางมาไหว้เพื่อขอโชคลาภ ความศรัทธาที่ชาวบ้านมีต่อรูปไม้แกะสลักนี้มีมากแค่ไหน
สังเกตดูได้จากสิ่งของต่าง ๆ ที่ชาวบ้านนำมาแก้บน เช่น รูปไก่ชน ชุดทหาร
ของเล่นต่าง ๆ เป็นต้น ในแต่ละวันจะมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาขอพรมากหน้าหลายตา
และจะได้ยินเสียงประทัดดังขึ้นอยู่ตลอดทั้งวัน
แสดงถึงผลสัมฤทธิ์จากผู้ที่มาขอพรจาก "ไอ้ไข่" หรือ "ตาไข่"
ได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น